“วัดหน้าพระเมรุ” กว่า 500 ปี บอกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา สายบุญไม่ควรพลาด
  • 15 Jul 2019
  • Thailand

“วัดหน้าพระเมรุ” กว่า 500 ปี บอกเรื่องราวสมัยกรุงศรีอยุธยา สายบุญไม่ควรพลาด

วัดหน้าพระเมรุ หรือ วัดพระเมรุราชิการามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีชื่อเดิมว่าวัดพระเมรุราชการาม" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในตำนานกล่าวว่า พระองค์อินทร์ในสมเด็จพระรามาธิปดีที่ 2 รัชการที่ 10 แห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงสร้างเมื่อ .. 2046 ประทานนามว่าวัดพระเมรุราชิการามแต่ประชาชนส่วนมากนิยมเรียกกันว่าวัดหน้าพระเมรุ

วัดหน้าพระเมรุ เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมากมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตอนหนึ่งว่า สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ ได้ใช้สถานที่แห่งนี้เจรจาสงบศึก เมื่อมี .. 2106 และในอีกตอนหนึ่งเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าอะลองพญามาตีกรุงศรีอยุธยา เมื่อ .. 2303 พม่าได้เอาปืนใหญ่มาตั้งที่วัดเมรุราชิการาม กับวัดหัสดาวาส (วัดช้าง) พระเจ้าอะลองพญาทรงบัญชาการและทรงจุดปืนใหญ่เอง ปืนใหญ่ที่ตั้งอยู่ได้แตกต้องพระองค์บาดเจ็บสาหัสประชวนหนักในวันนั้น พอรุ่งขึ้นพม่าเลิกทัพกลับไปทางเหนือ แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอะลองพญาก็สิ้นพระชนม์ระหว่างทาง 

 

ด้วยบุญญาธิการอันศักดิ์สิทธ์ แห่งหลวงพ่อพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระประธานในอุโบสถ จึงทำให้กรุงศรีอยุธยารอดพ้นจากข้าศึกตลอดมา สมควรที่ประชาชนชาวไทยทั้งหลายมานมัสการ ชมพระบารมีซึ่งยังมีพระลักษณะคงสภาพเดิมอยู่ทุกส่วน ซึ่งเป็นวัดเดียวที่ไม่ถูกพม่าทำลายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ด้วยเหตุนี้เอง วัดหน้าพระเมรุ จึงมีความสมบูรณ์ที่สุดเมื่อเทียบกับวัดอื่นๆในอยุธยา เมื่อครั้งเสียกรุงได้ถูกกองทัพพม่าเผาทำลายเหลือซากให้เราเห็น แต่วัดหน้าพระเมรุ ยังคงใว้ซึ่งความสง่างามจนปัจจุบัน 

จิตรกรรมฝาผนังวัดหน้าพระเมรุราชิการาม

ภาพจิตรกรรมภายในวัดหน้าพระเมรุราชิการาม เดิมเคยมีปรากฎที่ฝาผนังพระอุโบสถและพระวิหาร ปัจจุบันได้ลบเลือนไปแล้ว แต่ยังคงเหลือให้ศึกษาได้ที่พระวิหารพระสรรเพชญ์ ภาพจิตรกรรมในพระวิหารส่วนใหญ่ได้เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นภาพที่เขียนขึ้นเกี่ยวเนื่องกับเรื่องใด หากแต่ภาพส่วนที่เหลืออยู่นี้ก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงสภาพสังคม และวัฒนธรรมสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งประกอบไปด้วย ภาพวิถีชีวิตของชาวบ้าน การแต่งกาย ตลอดจนถึงรูปแบบการตั้งขบวนทัพ และภาพขบวนฟ้อนรำต่างๆ 

รูปแบบของงานจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารพระสรรเพชญ์ เป็นงานจิตรกรรมที่เขียนขึ้นประมาณรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ระหว่าง .. 2394 ถึง .. 2411

ความสำคัญทางปูชนียสถานและวัตถุ

1.พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ นิยมเรียกย่อว่าพระพุทธนิมิตพระประธานในพระอุโบสถหล่อด้วยทองสำริดลงรักปิดทองปางมารวิชัย ทรงเครื่องพระมหากษัตริย์ หน้าตักกว้าง 9 ศอกเศษ สูง 6 เมตรเศษ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ที่สุดองค์หนึ่ง มีพระลักษณะงดงาม พระนามบ่งชัดถึงพระลักษณะอันพิเศษ มีพระภินิหารเป็นสรณะที่พึ่ง ที่เคารพสักการะอย่างยิ่งแก่โลกทั้ง 3 เกิดปิติศรัทธาแก่ผู้ที่ได้เข้านมัสการ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้าน คู่เมือง และคุ้มครองบ้าน คุ้มครองเมือง ทำให้ข้าศึกเกิความเกรงกลัวไม่ทำลายวัดนี้ได้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ ควรแก่การที่จะมานมัสการอย่างใกล้ชิดทีเดียว สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

2.พระคันธารราฐ เป็นพระพุทธรูปสมัยทวาราวดี ประดิษฐ์สถานอยู่ในพระวิหารสรรเพชญ์ เป็นพระพุทธรูปเนื้อศิลาเขียวแกะสลัก ประทับนั่งห้อยพระบาท ประทับบัลลังก์ ปางปฐมเทศนา หน้าตักกว้าง 1.70 เมตร สูง 520 เมตร เป็นพระพุทธรูปศิลาที่ใหญ่ที่สุด มีลักษณะที่งดงามองค์หนึ่งในโลก อายุประมาณ 1,500 ปี ในศิลาจารึก พระยาไชยวิชิตได้ย้ายมาจากวัดมหาธาตุ ในเกาะเมืองอยุธยา และว่ามาจากประเทศลังกา เมื่อคราวที่พระอุบาลีเป็นสมณฑูต พร้อมด้วยพระสงฆ์สยามวงศ์ นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐ์ฐานในประเทศลังกา

3.พระอุโบสถ สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมับกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หน้าบันเป็นไม้สักแกะสลักเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเหยียบเศียรนาค และมีรูปราหูสองข้างติดกับเศียรนาค ล้อมรอบด้วยหมู่เทพพนม จำนวน 26 องค์ ภายในพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยม 2 แถว ละ 8 ต้น เสามีลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์มีบัวหัวเสาเป็นลักษณะบ่งชัดว่าเป็นแบบอยุธยา เพดานเป็นไม้แกะสลักเป็นรูปดวงดาวสลับซับซ้อนสวยงามมาก ลักษณะของพระอุโบสถโดยรวมเป็นรูปสำเภากว้าง 16 เมตร ยาว 50 เมตร ไม่มีหน้าต่าง เจาะพนังเป็นช่องลม เพื่อให้มีแสงสว่างและมีอากาศถ่ายเท-ไม่อับ เป็นลักษณะของพระอุโบสถในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น

พระปรางค์

ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถองค์ปรางค์หันหน้าไปทางทิศตะวันออกมนบันไดทางขึ้นเรือนธาตุทางด้านหน้า ฐานปรางค์เป็นฐานย่อมุมไม้สิบสอง เรือนธตุด้านหน้าเจาะช่องประตูเช้าสู่ห้องด้านในส่วนอีกสามด้านที่เหลือก่อเป็นซุ้มตัน ปัจจุบันองค์ปรางค์ชำรุดเหลือเพียงส่วนฐานและเรือนธาตุส่วนล่าง

เจดีย์ราย 3 องค์

เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรายมีต้นโพธิ์ปกคลุม บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของสถานที่แห่งนี้ อยู่ด้านหลังพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ  

พระวิหารขาว

ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ พระประธานในวิหารขาวเป็นพระพุทธรูปปั้นด้วยปูนมีนามว่า หลวงพ่อขาว ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สมัยอยุธยา ปัจจุบันมีผู้ให้ความเลื่อมใสศัทธาเป็นจำนวนมาก

จังหวัดพระนครศรีอยุธายามีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่มีความสำคัณต่อประวัติศาสตร์ของไทยอย่างมากมาย ให้เราได้ศึกษาเรื่องราวในอดีต วิถีชีวิตความเป็นอยู่ สังคมวัฒนธรรม ดังนั้นการที่เราได้ศึกษาเรื่องราวในอดีต ทำให้เรารู้ว่ากว่าจะมีวันนี้......เราได้ผ่านอะไรมาบ้าง

http://www.autofulltravel.com

https://www.facebook.com/autofulltravel/